LEAN​ CANVAS กัน BMC หรือ Business Model Canvas

ต่างกันอย่างไร ?

ทั้งๆ ที่ มี 9 Boxs เหมือนกัน

LEAN​ CANVAS 

กล่องที่ 1  Pain Point   

ปัญหาอะไรของธุรกิจ ที่เราสนใจ ยิ่งเราคลุกคลีกกับธุรกิจนั้นมากเท่าไร เราเองจะเห็นปัญหาที่แก้ได้บ้าง ไม่ได้บ้างซะส่วนใหญ่  เพราะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ คาดว่าจะช่วยให้ลูกค้ารับรู้ถึง  Value Proposition ที่ดีของเราได้                

กล่องที่ 2  CS หรือ Customer Segment  

ซึ่งใน BMC จะให้ความสำคัญกับตัวลูกค้า เราจะใช้หลักการของ STP ซึ่งนักการตลาด ถือ เป็นเรื่องพื้นฐาน เรื่อง CS  ซึ่งเราเองต้องตีโจทย์ก่อนว่าลูกค้าเราเป็น B2B  หรือ B2C  เพื่อที่จะได้ง่ายในการออกแบบ Application ให้ตรงประเด็น  กับปัญหาของธุรกิจน้ำดื่ม  จึงแบ่งเป็นแบบ ค้าส่ง กับ ค้าปลีก และ Application  ของเราใคร  ผู้ใช้งาน คือ ใคร จุดนี้สำคัญมาก ไม่ใช่ใครก็ได้ที่จะใช้มัน  ที่โหลดมาจาก App Store  แล้วใช้ได้เลย  และเรามีวิธีสื่อสารกับผู้ใช้เครื่องมือให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างไร ซึ่งเคยทดลองแล้ว บางคนตีโจทย์ไม่แตกก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ของเครื่องมือได้ มีตัวอย่าง Application ที่ได้นำมาใช้งานจริงๆ สามารถศึกษาได้จาก   

กล่องที่ 3  การนำเสนอคุณค่าที่ไม่เหมือนใคร Unique Value Proposition
ต่างจาก VP  หรือ Value Proposition แบบเดิม ๆ เพราะจะต้องไม่เหมือนใคร ไม่จำเป็นต้องทำอะไรใหม่ แต่สิ่งที่ทำสามารถแก้ปัญหาให้กับธุรกิจน้ำดื่มได้ เมื่อได้ทดลองทำ เราก็จะค่อยๆพัฒนาการระบบจากการใช้งานของ USERs ซึ่งก็ต้องใช้เวลาพัฒนาจนลูกค้าสามารถเห็นประโยชน์จากการใช้ เครื่องมือที่จะมาลดเวลาและสร้างมูลค่าให้กับการทำงานได้จริง ๆ           

กล่องที่ 4  Solution  ที่พัฒนาจาก Tool To Platform 
เดิมที่เป็น Application   คงไม่พอ เราจึงปรับมาใช้เป็น Platform และเพิ่มเติมโดย นำ AI + IOT จนเป็น  Aiot มาใช้ในการบริหารจัดการโรงงานน้ำดื่ม  เพื่อลดต้นทุนได้    ข้อมูลในการจัดเก็บนำมาวิเคราะห์ปัญหา ไม่ใช่แค่แก้ปัญหา แต่เครื่องจักร คนก็สำคัญมาก  เราจึงต้องสร้างระบบในการบริหารคนและงานให้สัมพันธ์กัน จึงออกมาเป็น SMART DRINKING WATER FACTORY  และได้ใช้จริง ๆ ในปัจจุบันและสามารถตอบโจทย์ให้กับลูกค้าได้จริง

กล่องที่ 5  Channel  ในกลุ่มของลูกค้าของเรา คือ นักลงทุน หรือ Investor
ลูกค้าต้องชัดเจน  เพราะการสื่อสารต้องตรงกลุ่มและลงทุนในธุรกิจน้ำดื่ม แบบ One Stop  Service จะลดความซับซ้อนและคล่องตัวให้กับนักลงทุน ในรูปแบบ Franchise  หรือ ร่วมทุน มากกว่าคนที่อยากจะมีอาชีพน้ำดื่ม 

กล่องที่ 6  Revenue Streams  มาจากการ Set Up Factory การอบรมสัมมนาและ Loyalty  ในการขายสินค้า ( ช่วยลูกค้าขายสินค้า )   ซึ่งธุรกิจที่เราทำ ต้องไม่ OUT อยู่ในความจำเป็นที่คนจำเป็นต้องใช้ ใช่แค่ธุรกิจแฟชั่นหรือ เป็นธุรกิจที่เข้าง่ายเกินไป จึงทำให้มีรายได้จากการบริโภคทุกวัน ก็จะเห็นว่าเป็นธุรกิจที่มีตลาดแล้ว แต่จะทำอย่างไรให้คนมาใช้บริการ 

คือ  ด้าน Marketing ที่ต้องทำการตลาดให้กับนักลงทุนเห็นด้านกำไรและคุ้มค่าในการลงทุน   

กล่องที่ 7  Cost Structure   ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการบริหารโครงการ  ในมุมของผู้สร้างระบบ แต่ในมุมของผู้ใช้ระบบ หรือ นักลงทุนต้องมองต้นทุนเทียบกับกำไร และเราสามารถจัดการบริหารต้นทุนให้ดีกว่าคู่แข่งได้อย่างไร 1 ในกลยุทธ์ของแฟรนไชส์ 

คือ  Economy of Scale ที่จะได้เปรียบคู่แข่งขันในด้านวัตถุดิบที่มีจำหน่วยมากกว่าราคาจึงต่ำกว่าได้           

กล่องที่ 8  Key  Metric  หรือตัวชี้วัด คือ ลูกค้าสามารถผลิตและจำหน่าย รวมถึงคืนทุนตามแผนธุรกิจ  3  ถึง  5  ปี   ซึ่งจากประสบการณ์ของการทำธุรกิจโรงงานน้ำดื่ม KPI คือ การบริหารจัดการทรัพยากรคนทำได้ง่าย เราจึงให้ความสำคัญกับทีมผู้บริการ เพราะไม่ต้องใช้คนมากในธุรกิจ  แต่สามารถจะบริหารจัดการโรงงานได้ตามกรอบที่กำหนดวัดผลลัพธ์เป็นรายวันจากการผลิต เทียบกับต้นต้น สามารถที่จะสรุปได้ในแต่ละวัน

กล่องที่ 9  Unique Value Proposition  ในรูปแบบเฉพาะ Franchise ยังไม่มีใครที่คิดทำ  เนื่องจากโรงงานน้ำดื่ม คนส่วนใหญ่ เน้นจะสร้างแบรนด์จากการลงทุนเอง จะต้องลองถูกลองผิดในการลงทุน และประสบการณ์เราในสายงานระบบน้ำและงานวิศวกรรม กว่า 26 ปีผ่านโรงงานน้ำดื่มติดตั้งและแก้ไขมากว่า 500 โรงงาน ใน 17  จึงทำให้เข้าใจโรงวานน้ำดื่มน้องใหม่และโรงงานเก่า ๆ ที่ทำมาในยุคแรก ๆ 30 ปีที่แล้ว

แหละนี้ คือ สิ่งที่เราเลือกทำ LEAN CANVAS ทั้ง 9 ช่องที่ได้ใช้งานจริงสำหรับหนีจากทะเลแดงเดือดมาสู่  BLUE OCEAN  ใน บทถัดๆ ที่ไปจะมาคุยเรื่องของทะเลสีครามกันบ้าง

        

ขอบคุณที่แบ่งปัน แชร์